เล่นบำบัด 101

#selectivemutism

ครูโบนัสได้รับแจ้งจากคุณครูประจำชั้นว่า กังวลเกี่ยวกับน้องเอ เด็กหญิงชั้นอนุบาลวัย 6 ขวบ ที่มีปัญหาฉี่ราดในห้องเรียนอยู่หลายครั้งเพราะไม่ยอมบอกคุณครูว่าจะไปเข้าห้องน้ำ นอกจากนี้น้องเอยังดูซึมๆ ไม่เล่นกับเพื่อน มักจะทำกิจกรรมอยู่คนเดียวและไม่พูดอะไรเลยในห้องเรียน

จากการพูดคุยกับผู้ปกครองก็พบว่า น้องเอร่าเริงและพูดคุุยปกติที่บ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ใหม่ๆ จะดูขี้อายมากกว่าปกติ และใช้เวลาในการปรับตัวนาน ผู้ปกครองก็มีความเป็นห่วงและยินดีให้น้องเอเข้ารับการบำบัดผ่านการเล่น

—————————–

Selective Mutism หรือ ภาวะไม่พูดในบางสถานการณ์

เป็นภาวะที่บ่งบอกถึงความเครียดและวิตกกังวลขั้นรุนแรงในเด็ก โดยเด็กๆ ที่ประสบกับภาวะนี้ มีพัฒนาการด้านการพูดตามปกติ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ้านหรือสถานที่ที่คุ้นเคยและสบายใจ จะพูดคุยได้ตามปกติ แต่เมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์แปลกใหม่ หรือสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกอึดอัด กดดัน เด็กๆ จะ “ไม่สามารถ” พูดออกมาได้

คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจว่าการที่เด็กๆ ที่ประสบกับภาวะนี้ไม่พูดนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่เด็กแสดงออกถึงความดื้อ หรือไม่ยอมพูดเอง แต่เด็กจะรู้สึกวิตกกังวลมากจนกระทั่งไม่สามารถพูดออกมาได้ บางครั้งอาจพบว่าเด็กขับถ่ายรดกางเกงอันเนื่องมาจากไม่สามารถบอกครูเพื่อขอไปเข้าห้องน้ำได้

เด็กที่ประสบกับภาวะเช่นนี้ แนะนำให้ต้องเข้ารับการบำบัด โดยที่ถ้าพบปัญหาแต่เนิ่นๆ ตอนที่ยังอายุไม่มาก อาจใช้เวลาในการบำบัดรักษาน้อย แต่หากปล่อยทิ้งไว้เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ อาจมีภาวะแยกตัว มีความวิตกกังวลในการเข้าสังคม และไม่เห็นคุณค่าในตนเอง (low self-esteem) ได้ค่ะ

—————————–

หลังจากการบำบัดเป็นระยะเวลา 12 ครั้งแล้ว ครูโบนัสได้รับฟีดแบ็คที่ดีจากผู้ปกครองของน้องเอ บอกว่าตอนนี้น้องเอมีเพื่อนสนิทที่โรงเรียนแล้วและกลับมาเล่าเรื่องสนุกจากโรงเรียนให้ที่บ้านฟังอยู่ตลอด เมื่อพาไปเรียนพิเศษในที่ใหม่ น้องเอก็ใช้เวลาปรับตัวน้อยลงมากจนผู้ปกครองเซอร์ไพรส์สุดๆ

ส่วนทางคุณครูประจำชั้นก็แจ้งกลับมาว่าตอนนี้น้องเอพูดคุยได้ปกติในห้องเรียนแล้ว ดูร่าเริง มีความมั่นใจมากขึ้น และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังประสบกับปัญหานี้ สามารถติดต่อสอบถามมาทางเพจได้เลยนะคะ

ครูโบนัส

นักวิชาชีพในทักษะการบำบัดผ่านการเล่น

(Practitioner in Therapeutic Play Skills)

ปล. เคสที่นำมาเป็นตัวอย่าง ใช้ชื่อที่เป็นนามสมมติ และมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางส่วนเพื่อไม่ให้กระทบกับบุคคลจริงค่ะ

#playtherapy #เล่นบำบัด

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top